วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555


ศิลปะล้านนา


ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะ ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาอยู่ที่ เมืองเชียงใหม่

หอคำหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาชิ้นเอก


ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า แบบเชียงแสน คือ พระวรกายอวบอูม พระพักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม และดอกบัวตูม ไม่มีไรพระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์ ท่านั่งขัดสมาธิเพชร


จะเห็นได้ว่าเมื่อมีงานบุญงานทานชาวล้านนามักมีการแสดงรื่นเริง เนื่องด้วยความเชื่อต่าง ๆ ว่าเมื่อได้ร่วมแสดงในงานบุญ จะได้บุญกุลศลอย่างมาก


  1. ซึง
  2. สะล้อ
  3. กลองเต่งถิ้ง
  4. ขลุ่ย
  5. ปี่จุม
  6. กลองสะบัดชัย
  7. กลองตึ่งโนง
  8. ปี่แน
  9. ตะหลดปด (มะหลดปด)
  10. กลองปูจา (กลองบูชา หรือ ปู่จา)
  11. วงกลองปูเจ่ (กลองปูเจ)
  12. วงปี่ป๊าดก้อง (วงปี่พาทย์ล้านนา)
  13. พิณเปี๊ยะ



การร้องแบบภาคเหนือแบ่งออกเป็น หลายอย่าง โดยการร้องจะมีความหลากหลายของทำนองเพื่อไม่ให้ผู้ฟังเกิดการเบื่อหน่าย เช่น ทำนอง ตั้งเชียงใหม่ อื่อ ล่องน่าน เชียงแสน เงี้ยวสิบชาติ ปั่นฝ้าย พม่า น่านก๋าย จะปุ เป็นต้น โดยการร้องแบ่งออกได้ดังนี้


Fontleb.JPG
การฟ้อน คือการแสดงของชาวเหนือโดยมีลีลาอ่อนช้อยงดงามการฟ้อนจะฟ้อนไปตามจังหวะของดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้มักเป็นเครื่องดนตรีของพื้นเมืองเกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสะล้อ ซึง กลองต่าง ๆ เป็นต้น ชาวอำเภอป่าแดดมักใช้ฟ้อนในงานสำคัญต่าง ๆ เช่นงานบุญงานทาน งานฉลอง งานรื่นเริง โดยการฟ้อนอาจแบ่งเป็นฟ้อนผู้หญิง ฟ้อนผู้ชาย
ป้จจุบันผู้หญิงอาจฟ้อนของผู้ชาย ผู้ชายฟ้อนของผู่หญิงก็ได้ไม่ผิด โดยหลัก ๆ ฟ้อนแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
  • ฟ้อนบ่าเก่า(ฟ้อนโบราณ)
  • ฟ้อนประดิษฐ์ในพระราชสำนัก
  • ฟ้อนแบบเงี้ยว และ
  • ฟ้อนประยุค
โดยแยกได้ดังนี้


การฟ้อนแบบนี้หมายถึงการฟ้อนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาโดยไม่มีการปรับปรุง ซึ่งอาจมีอายุเท่ากับอาณาจักรล้านนา หรืออาจเก่ากว่านั้นก็เป็นได้ แต่เราไม่อาจบอกได้ว่าได้ว่าเรียบร้อยด้วยท่าฟ้อนที่มีชื่อว่าอะไรบ้าง เกิดขึ้นในสมัยใด มีลีลาท่าทางอย่างไร เพระไม่เหลือไว้ให้ศึกษาค้นหารายละเอียดได้เลย แต่พอจะสรุปวัตถุประสงค์ของการฟ้อนได้จากสาเหตุ 2 ประการ คือ
  • เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและศรัทธาต่อสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย เริ่มจาก "ผี" " จากนั้นพัฒนาไปหา "ศาสนาพุทธ" ได้แก่ฟ้อนแห่ครัวทาน ทานข้าวใหม่ฯ
  • เพื่อความสนุกสนานบันเทิงในกลุ่ของตน เช่น งานปีใหม่ (สงกรานต์) งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวชลูกแก้ว ฯลฯ
ทั้งนี้ พอจำแนกการฟ้อนของล้านนาออกมาได้เป็น 7 กระบวนท่าฟ้อน ดังนี้
  1. ฟ้อนแห่ครัวทาน (อ่าน"ฟ้อนแห่คัวตาน")
  2. ฟ้อนผี
  3. ฟ้อนปั่นฝ้าย
  4. ฟ้อนแง้น
  5. ฟ้อนเจิง
  6. ฟ้อนดาบ
  7. ฟ้อนหอก
  8. ฟ้อนกลายลาย(ก๋ายลาย)
  9. ฟ้อนสาวไหม


การฟ้อนแบบนี้หมายถึงการฟ้อนที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ขึ้น หรือการฟ้อนที่ผู้ใกล้ชิดกับพระราชชายาฯ ได้ประดิษฐ์ ซึ่งพบว่ามี 9 กระบวนท่าฟ้อน คือ
  1. ฟ้อนเล็บ-ฟ้อนแห่ครัวทาน
  2. ฟ้อนเทียน
  3. ฟ้อนเงียว (แบบในวัง)
  4. ฟ้อนล่องน่าน(ฟ้อนน้อยไชยา)
  5. ฟ้อนกำเบ้อ
  6. ฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตา
  7. ฟ้อนมูเซอ
  8. ฟ้อนโยคีถวายไฟ


หมายถึงการฟ้อนแบบไทใหญ่ พบว่ามีอยู่ 6 อย่าง คือ
  1. ฟ้อนเงียว
  2. ฟ้อนไต
  3. ฟ้อนนก หรือฟ้อนกิงกะหร่า
  4. ฟ้อนก้าลาย
  5. ฟ้อนโต
  6. ฟ้อนก้าไต


เมื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไปแล้ว ก็ได้มีผู้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นมาอีกหลายแบบ โดยชาวอำเภอป่าแดดมักนำการฟ้อนประยุคนี้มาฟ้อนในงานแห่ครัวทาน อาจจะรับอทธิพลจาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้าง ภาคกลาง ภาคใต้ก็ดี บ้างก็คิดเองขอเพียงมีจังหวะชาวอำเภอป่าแดดก็สามารถฟ้อนได้ในขบวนครัวทาน เช่นการฟ้อนภูไท ฟ้อนชาวเขา เซิ้ง ฟ้อนประยุค เป็นต้น
ในที่นี้จะขอยกการฟ้อนประยุคที่มีความนิยมทั่วไปไม่เฉพาะอำเภอป่าแดดเท่านั้น พบว่ามีหลายกระบวนท่าฟ้อนมาก ดังนี้
  1. ฟ้อนหริภุญชัย
  2. ฟ้อนร่ม
  3. ฟ้อนเก็บใบยาสูบ
  4. ฟ้อนยอง
  5. ฟ้อนศิลามณี
  6. ฟ้อนผางประทีป
  7. ฟ้อนล่องแม่ปิง
  8. ฟ้อนเชียงแสน
  9. ฟ้อนล่องน่าน
  10. ฟ้อนน่านนันทบุรี
  11. ฟ้อนวี(ฟ้อนพัด)
  12. ฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน(ฟ้อนร่มฟ้าล้านนา หรือฟ้อนยวนสาวไหม)
  13. ฟ้อนเบิกฟ้าป่าแดด
  14. ฟ้อนขันส้มป่อย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น