วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ประวัติวรรณคดีไทย

วรรณคดี แปลว่าเรื่องที่แต่งเป็นหนังสือ มีความหมายตรงกันคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษ แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความของวรรณคดีว่า หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร กล่าวว่า
๑ . เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องที่สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือไม่เป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสาร ซึ่งจะชวนให้คิดวุ่นวานทางการเมืองอันเกิดเป็นเรื่องรำคาญแก่รัฐบาลของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ( เพราะคนรู้น้อยอาจจะไขว้าเขวได้ )
๒ . เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใด ๆ ก็ตามแต่ต้องให้เป็นภาษาไทยอันดี ถูกต้องตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาลหรือปัจจุบันกาลก็ได้ ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ ( เช่น ใช้ว่า ไปจับรถ แทน ไปขึ้นรถ และ มาสาย แทน มาช้า ดังนี้เป็นตัวอย่าง )
วรรณคดี คือ ความรู้สึกนึกคิดของกวี ซึ่งถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฎเป็นรูปหนังสือ มีถ้อยคำเหมาะเจาะเพราะพริ้ง เร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึก
วรรณคดี คือ หนังสือที่มีลักษณะเรียบเรียงถ้อยคำเกลี้ยงเกลาเพราะพริ้งมีรสปลุกมโนคติ ( imagination ) ให้เพลิดเพลิน เกิดกระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง ๆ เป็นไปตามอารมณ์ของผู้ประพันธ์บทประพันธ์ที่เป็น
วรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความเพลิดเพลิน ให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(imagination) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดีจะต้องมีรูปศิลปะ ( form )
 
เท่าที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่าวรรณคดี คือ เรื่องที่มีลักษณะดังนี้
๑ . ใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารไพเราะสละสลวย
๒ . ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
๓ . ยกระดับจิตใจให้สูง
๔ . ใช้เป็นแบบแผนในการแต่งได้
ร้อยกรอง คือ บทประพันธ์ที่แต่งให้มีสัมผัสของคำเชื่อมโยงกัน โดยมีคณะของคำตามหลักที่กำหนดไว้ในฉันทลักษณ์หรือตำรากลอนต่าง ๆ เช่น มีครุ ลหุ เอก โท เป็นต้น
รูปแบบของร้อยกรองวรรณคดีที่เป็นร้อยกรอง ( กาพย์กลอนของไทย ) ได้เจริญเรื่อยมา และแบ่งตามรูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้แต่งเรื่องนั้น ๆ ได้ดังนี้
๑ . คำหลวง เป็นเรื่องที่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ทรงแต่ง หรือ ทรงเกี่ยวข้องในการแต่ง ไม่จำกัดรูปแบบคำประพันธ์ แต่ต้องเป็นเรื่องที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา เท่าที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ มหาชาติคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำ-หลวง และพระนลคำหลวง
๒ . คำฉันท์  ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์ชนิดต่าง ๆ มักมีกาพย์บางชนิดปนอยู่ด้วย เช่น สมุทรโฆษคำฉั นท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นต้น
๓ . คำโคลง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นโคลงคั้นหรือโคลงสี่สุภาพ เช่น โคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น
๔ . คำกลอน วรรณคดีที่แต่งเป็นคำกลอนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กลอนสุภาพ กลอนเสภา กลอนบทละคร กลอนหก เช่น พระอภัยมณี เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
๕ . คำกาพย์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ เช่น กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา เป็นต้น
๖ . กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงและกาพย์ เช่น กาพย์ห่อโคลงประพาศธารทองแดง กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
๗ . ร่ายยาว  ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร่ายยาว เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น
๘ . ลิลิต      ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งโดยใช้โคลงและร่ายปนกัน รับสัมผัสคำแบบลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น
นอกจากแบ่งตามลักษณะคำประพันธ์แล้ว ยังแบ่งตามเนื้อเรื่อง เช่น นิราศ เพลงยาว นิทานคำกาพย์ นิทานคำกลอน คำสอน เป็นต้น
บทละคร คือ เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อการแสดงบนเวทีรูปแบบของบทละคร
๑ . บทละครรำ เป็นบทละครแบบเดิมของไทย ได้แก่ บทละครเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ สังข์ทอง เป็นต้น
๒ . บทละครแบบตะวันตก ได้แก่ บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ บทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า บทละครคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา เป็นต้น
การแบ่งประเภทวรรณคดีตามเกณฑ์ต่าง ๆ วรรณคดีไทยอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้
แบ่งตามความมุ่งหมาย แยกได้ ๒ ประเภท คือ
๑ . สารคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญแต่ในขณะเดียวกันก็ใช้กลวิธี การเขียนให้เกิดความบันเทิงเป็นผลพลอยได้ไปด้วย เช่น บทความหรือความเรียง หนังสือสารคดี ตำรา บันทึก จดหมายเหตุ รายงาน พงศาวดาร ตำนาน ปาฐกถา คำสอน
๒ . บันเทิงคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านมากกว่าความรู้ แต่อย่างไรก็ดี บันเทิงคดีย่อมมีเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญแทรกอยู่ด้วยในรูปของคติชีวิตและ เกร็ดความรู้ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละครพูด นิทาน นิยาย
แบ่งตามลักษณะที่แต่ง แยกได้ ๒ ประเภท คือ
๑ . ร้อยแก้ว อาจแต่งเป็นสารคดีหรือบันเทิงคดี โดยมีรูปแบบต่าง ๆ
๒ . ร้อยกรอง หมายถึง ความเรียงที่ใช้ภาษาพูดตามธรรมดา แต่มีรูปแบบโดยเฉพาะและมีความไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย ร้อยกรองอาจเรียกว่าคำประพันธ์ กาพย์กลอน หรือ กวีนิพนธ์ ก็ได้ ร้อยกรองแต่เป็นกลอน โคลง ร่ายกาพย์และฉันท์ อาจแต่งเป็นสารคดีและบันเทิงคดี ส่วนมากเป็นบันเทิง
คดี โดยอาจแบ่งรูปตามชนิดของ คำประพันธ์ หรือลักษณะของเนื้อเรื่อง
แบ่งตามลักษณะการจดบันทึก แยกได้ ๒ ประเภท คือ
๑ . วรรณคดีลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บันทึกไว้เป็นหนังสืออาจเป็นตัวจารึก ตัวเขียน หรือตัวพิมพ์ก็ได้
๒ . วรรณคดีที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บอกเล่าจดจำสืบต่อกันมา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วรรณคดีมุขปาฐะ เช่นเพลงพื้นเมือง
บทเห่กล่อม นิทานพื้นบ้าน ปริศนาคำทาย
การแบ่งประเภทวรรณคดีดังกล่าวอาจคาบเกี่ยวกันได้ สารคดีโดยทั่วไปมักแต่งเป็นร้อยแก้วแต่อาจแต่งเป็นร้อยกรองก็ได้บันเทิงคดี อาจแต่งเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้
ขอขอบคุณรูปสวยๆจาก
http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:HPpV1LtC9FkHNM:http://img293.imageshack.us/img293/5127/border003yt9.jpg&t=1
http://fwmail.teenee.com/etc/img5/m168462.jpg
http://image.dek-d.com/15/1249206/14446298

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัตินางในวรรณคดี


บุษบา
  
  




     นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
     บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น
นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
     นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
ลักษณะนิสัย
๑.บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
๒. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
๓. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า 
 "อันนางจินตะหราวาตี     ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา 
 หากเขาก่อก่อนอ่อนมา     ใจพี่พาลาก็งวยงง……"
     จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
" จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย  จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา
เขาจะเชิดชื่อฤาชา            ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย
อันความอัปยศอดสู      จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย
ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย    ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป "
และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า 
"พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี   เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า
ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา       ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
เป็นไฉนจึงยกน้องให้         แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์
กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก       พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ
สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง      อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย    จะตายในความซื่อสัตยา"
๔. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน
๕.มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า
"ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง   อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
แม้นชีวันจะบรรลัย           จะตายในความซื่อสัตยา"
๖.ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี
๗.เมื่อเป็นชาย คือมิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน
๘.มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน
๙.มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง
๑๐.ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า
"แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง    พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา
เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา     เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล"
และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง





               
พระเพื่อนพระแพง

    



   ตำนานรักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระแพงเกิดความรักและปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงไหลคิดเสด็จไปหานาง
     ฝ่ายพระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อพระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง
         เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครสวามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์
     ท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสีย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีกันต่อมา
คติและแนวคิด 
     ตำนานรักพระลอเป็นนิยายพื้นบ้านที่ให้รสวรรณคดีทุกรส ได้แก่ ความรัก ความโศก กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ตลอดจนอนุภาพแห่งความรัก ที่เป็นอมตะรักของพระลอ พระเพื่อนพระแพง
พราะเสน่ห์แรงเกินไปนี่เอง
นางมโนราห์



    


     นางมโนราห์เป็นธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร  นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน ๆ กัน  งดงามยิ่งกว่านางมนุษย์ รูปร่างหน้าตาของพวกเขาเหมือนมนุษย์แต่มีปีกและหางที่ถอดออกได้ เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมือง ปัญจาลนคร พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ซึ่งได้ให้ยืมบ่วงนาคบาช เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตเอาไว้และเห็นว่าพระสุธนกับนางมโนราห์เป็นเนื้อคู่กัน พรานบุญได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน พระสุธนเห็นเข้าก็เกิดหลงรักนางและพานางกลับเมือง และได้อภิเษกกัน ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่งได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธนเพราะว่าพระสุธนไม่ให้ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ พระบิดาได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตได้ทำนายว่าจะเกิดภับพิบัติครั้งใหญ่ ให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญ ซึ่งท้าวอาทิตยวงศ์ได้ยินยอมตามนั้น นางมโนราห์รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนางได้ปีกกับหางแล้ว นางก็ร่ายรำได้สักพักก็บินหนีไป ไปเจอฤาษีก็ได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตรายมากมาย และได้ฝากภูษาและธำมรงค์ให้พระสุธน เมื่อนางมโนราห์ได้กลับไปที่เมืองก็จะได้มีพิธีชำระล้างกลิ่นอายมนุษย์  ฝ่ายพระสุธนที่กลับจากสงครามได้ลงโทษปุโรหิต และติดตามหานางมโนราห์ เมื่อเจอพระฤาษี พระสุธนจะติดตามนางมโนราห์ต่อไป โดยมีพระฤาษีค่อยช่วยเหลือ เปนเพราะเวรกรรมแต่ชาติที่แล้วนั่นคือ นางมโนราห์คือ พระนางเมรี และพระสุธนคือ พระรถเสน ทำให้พระสุธนได้รับความลำบากมาก เมื่อพระสุธนมาถึงสระน้ำอโนดาต ได้แอบเอาพระธำมรงค์ใส่ลงในคณโฑของนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งนางกินรีได้นำน้ำนั้นไปสรงให้นางมโนราห์ พระธำมรงค์ได้ตกลงมาที่แหวนของนางพอดี ทำให้นางรู้ว่าพระสุธนมาหานาง นางจึงได้แจ้งแก่พระมารดา ซึ่งพระบิดาต้องการทราบว่าพระสุธนมีความรักจิงต่อนางมโนราห์หรือไม่ ได้รับพระสุธนมาที่เมืองและให้พระสุธนบอกว่านางไหนคือนางมโนราห์ ซึ่งนางมโนราห์และพี่ๆๆมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน ร้อนถึงองค์อินทร์ ต้องแปลงกายมาเป็นแมลงวันทอง จับที่ผมของนางมโนราห์ ทำให้นางมโนราห์และพระสุธนได้เคียงคู่อย่างมีความสุข 







นางละเวงวัณฬา

  
นางละเวงวัณฬาเป็นหญิงฝรั่ง ธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี เมื่อนางอายุได้ ๑๖ ปีนางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายไปในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมือง ผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงได้
ลักษณะนิสัย
  บทบาทของนางละเวงในเรื่องนั้นค่อนข้างแปลกกว่าตัวผู้หญิงในเรื่องอื่นๆ คือมีลักษณะเป็นทั้งนางเอกและผู้ร้ายก้ำกึ่งกันในตอนต้นนางทำศึกโดยการใช้เล่ห์กลอุบายตามคำแนะนำของบาทหลวง ทั้งนี้ด้วยคามแค้นที่พ่อและพี่ชายถูกฆ่าตายด้วยฝีมือชาวเมืองผลึก แม้ว่าความพยายามของนางในตอนต้นๆจะไม่ได้ผลเต็มที่ นางก็ไม่ละความพยายาม จนกระทั่งพระอภัยมณียกทัพข้ามไปราวีกรุงลังกาเสียเอง ทั้งๆที่มีความเกลียด ความโกรธ ความอาฆาตแค้นอยู่เต็มอก แต่พอนางได้พบหน้า และต่อปากต่อคำกับพระอภัยมณีศัตรูคนสำคัญเพียงครั้งเดียว นางก็ชักจะเรรวนไปข้างเสน่หาพระอภัยมณีเสียแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าเมืองลังกา นางละเวงจึงยอมตัดใจไม่เกี่ยวข้องกับพระอภัยมณีเป็นอันขาด แต่จะยกกองทัพกลับมาต่อสู้ให้ชนะให้จงได้ การที่จะทำศึกกับคนที่ตนรักนั้นไม่ใช่ของง่าย นางละเวงเองก็ทรมานใจ
               “เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก    สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย
ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย           จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล”
 


นางลำหับ












 ลำหับเป็นเงาะป่า อาศัยอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ลำหับเป็นพี่สาวของไม้ไผ่ ลำหับต้องแต่งงานกับฮเนาทั้งๆๆที่ลำหับรักใคร่ชอบพอกับซมพลา ซึ่งไม้ไผ่ต้องการให้ลำหับแต่งงามกับซมพลามากกว่าฮเนา วันหนึ่งไม้ไผ่ชอนลำหับไปเก็บดอกไม้ ได้มีงูตัวหนึ่งมารัดแขน ลำหับตกใจจนสลบ เมื่อลำหับฟื้นพบว่าซมพลากอดนางอยู่และได้ไถ่ถามด้วยความห่วงใย และได้พูดออกมาว่า"หากเจ้าตายไป พี่นี้จักตายตาม" ลำหับได้ขอบคุณ
     การแต่งงานของฮเนากับลำหับที่ฝ่ายผู้ใหญ่ของฮเนาได้เตรียมงานไว้ งานแต่งมีขึ้นที่ต้นตะเคียน ขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวเคลื่อนที่สู่ที่จะทำงานวิวาห์ นางลำหับได้ร้อนรนใจ ไม้ไผ่เห็นคนที่บ้านวุ่นวายก็ไปบอกซมพลา ซมพลาฝากไม้ไผ่ไปบอกลำหับว่าจะพาลำหับหนี เมื่อได้ยินดังนั้น ลำหับก็ก็เตรียมตัวเข้างานวิวาห์ การแต่งงานที่สมบูรณ์นั้นต้องเข้าป่า 7 วัน 7 คืน ฮเนาและลำหับเข้าป่า ฮเนาเข้าใกล้ลำหับ ลำหับตกใจร้องกรี๊ด อ้ายแคก็ซุ่มอยู่ก็เอาหินขว้างฮเนา ฮเนาโกรธจึงให้ลำหับรออยู่  แล้วฮเนาก็เดินออกไป ซมพลาได้เข้ามาบอกลำหับว่าจะพาหนี แล้วอุ้มนางไป  เมื่อฮเนากลับมาหาไม่เจอ จึงตามหาทั่วทั้งป่า ซมพลาได้พาลำหับมาอยู่ที่ถ้ำลึกกลางป่า มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ซมพลาออกมาหาอาหารแต่ลำหับห้ามไว้เพราะกลัวจะมีอันตราย แต่ซมพลาก็ไม่ฟัง ฮเนากลับไปที่หมู่บ้าน ทุกคนลงความเห็นว่าซมพลาลักพาตัวลำหับไป ฮเนาพร้อมรำแก้ว ปองสองและปองสุดจึงออกตามหา พบซมพลาระหว่างกลับถ้ำ จึงต่อสู้กันเพราะคิดว่าซมพลาลักพาตัวลำหับ รำแก้วเห็นฮเนาออกห่างซมพลาก็เป่าลูกดอกอาบยาพิษไปโดนหน้าผากซมพลา ซมพลาเดินโซซัดโซเซไปหาลำหับและได้สั่งลา ลำหับเสียใจมากคว้ามีดแทงซอกคอตาย ฮเนาเห็นเหตุการณ์ ก็ตัดสินใจตายตามลำหับไป ฝ่ายรำแก้ว ปอสอง ปอสุดได้ทำการขุดหลุมฝังศพให้เป็นอย่างดี


นางตะเภาทอง





ประวัตินางตะเภาทอง
มาจากนิทานพื้นบ้านภาคกลาง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก นางตะเภาทองเป็นสาวงามลูกเศรษฐีเมืองพิจิตร มีพี่สาวฝาแผด ชื่อ นางตะเภาแก้ว เมื่อคราวพญาจระเข้ชื่อ ชาละวัน ออกอาละวาดในแม่น้ำ ได้คาบตัวนางตะเภาทองไป เศรษฐีผู้พ่อจึงประกาศหาคนช่วยปราบชาละวันและพาตะเภาทองกลับมา ถ้าทำสำเร็จจะยกลูกสาวทั้งสองคนให้พร้อมยกสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง ในที่สุดได้ไกรทองอาสามาปราบจนสำเร็จ
เนื้อเรื่อง
 มีถ้ำอยู่ในแม่น้ำแห่งหนึ่ง ภายในถ้ำมีพญาจระเข้ตัวหนึ่งชื่อ พญาชาละวัน มีนางจระเข้สองตัวเป็นภรรยา คือ นางวิมาลา และนางเลื่อมลายวรรณ สามารถจะกลายร่างเป็นมนุษย์ได้ พญาชาละวันมีนิสัยดุร้าย และชอบกินเนื้อมนุษย์ไม่เหมือนกับจระเข้ที่เป็นปู่ คือท้าวรำไพที่ถือศิลภาวนาไม่กินสิ่งมีชีวิต
 วันหนึ่ง พญาชาละวันออกมาจากถ้ำเพื่อหาเนื้อมนุษย์กินเป็นอาหาร ได้ว่ายตามน้ำมาจนถึงท่าน้ำเมืองพิจิตร ได้พบสองสาวพี่น้อง ตะเภาแก้วและตะเภาทอง บุตรสาวเจ้าเมืองพิจิตรเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำหน้าบ้านของตนอยู่พอดี ความงามของตะเภาทอง เป็นที่ต้องตาต้องใจจึงเข้าไปคาบนางไปสู่ถ้ำของตนแล้วกลายร่างเป็นชายหนุ่ม รูปงาม และเกี้ยวพาราสีนางจนนางหลงรักและตกเป็นภรรยาคนที่สาม ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างภรรยาทั้งสามในขณะเดียวกันเจ้าเมือง พิจิตรได้ป่าวประกาศหาคนที่สามารถสังหารจระเข้และนำลูกสาวกลับมาในขณะมี ชีวิตได้ จะได้แต่งงานกับนางและได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัติของตน "ไกรทอง" เป็นชายหนุ่มอายุ 18 ปี เป็นชาวเมืองนนทบุรีได้อาสาปราบชาละวันเพราะได้เล่าเรียนวิชาอาคมมีความ ชำนาญในการปราบจระเข้และสามารถระเบิดน้ำเป็นทางเดินเข้าไปได้ ไกรทองมีของวิเศษ 3 อย่างที่อาจารย์ให้ไว้ คือ เทียนชัย มีดหมอลงอาคม และหอกสัตตะโลหะ เพื่อใช้ปราบจระเข้
 คืนนั้นพญาชาลาวันฝันไม่ดี จึงรีบไปปรึกษาปู่ คือท้าวรำไพผู้ซึ่งรู้ว่าหลานของตนกำลังชะตาขาด จึงให้ชาละวันจำศีลอยู่ในถ้ำเป็นเวลา 7 วัน ชาละวันเกิดความกลัวจึงสั่งให้บริวารจระเข้นำหินมาปิดปากถ้ำไว้อย่างแน่นหนา และเริ่มถือศีล ไกรทองได้ต่อแพลอยลงน้ำและประกอบพิธีเรียกชาละวันมาต่อสู้ เมื่อสุดจะทนชาละวันจึงแผลงฤทธิ์พังประตูถ้ำกลายเป็นจระเข้ใหญ่ ทั้งคู่ต่อสู้กันจนในที่สุดชาลาวันก็เพลี่ยงพล้ำถูกแทงบาดเจ็บและหนีกลับไป ยังถ้ำ ไกรทองจึงตามไปที่ถ้ำและได้เห็นวิมาลาจึงลวนลาม เพื่อยั่วให้ชาลาวันออกมาที่ซ่อน เสียงหวีดร้องของวิมาลาทำให้ชาลาวันออกมาจากที่ซ่อน แล้วถูกแทง ไกรทองสามารถช่วยตะเภาทองได้ เจ้าเมืองพิจิตรจึงมอบรางวัลให้ไกรทองตามสัญญาพร้อมกับยกลูกสาว อีกคนหนึ่งคือตะเภาแก้วให้เป็นภรรยาของไกรทองด้วย ไกรทองจึงได้สองพี่น้องเป็นภรรยาพร้อมกับสมบัติอีกส่วนหนึ่งจากท่านเจ้า เมือง ทั้งสามจึงใช้ชีวิตอยู่ในเมืองพิจิตรอย่างมีความสุข
นางมัทนา


มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องก์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2466 เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ

เนื้อเรื่อง

จอมเทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์
มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้งกลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ 1 เดือน นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ชั่ว 1 วัน 1 คืน ในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมือนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง
นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤๅษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้นทันที
ท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น
เมื่อมีความรักแล้ว นางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาหมงคลในป่านั้นเสียก่อน
ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างในด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑี มเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา
พระนางจัณฑีแค้นใจนัก ให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง
ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาปที่เป้นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่ง มิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตาย ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่
ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้วนักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤๅษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้ง


http://www.thaigoodview.com/node/85529